บทความนี้จะเป็นเทคนิกง่ายๆ สั้นๆ ได้ใจความ พร้อมตัวอย่าง นำไปใช้จริงได้เลย
ถามมา......
"หลายครั้งเราต้องการจะคิดเรื่องขึ้นมาเรื่องหนึ่ง แต่พอเขียนไปได้สักพักเราก็เหมือนวกกลับมาที่เดิมเราควรจะทำอย่างไรดีใหรู้สึกว่า มันไม่น่าเบื่อ และไม่วกไปวนมา ช่วยแนะนำด้วยค่ะ "
ตอบไป.....
เอาแบบพื้นฐาน และแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็ว เราต้องหัดวางโครงเรื่องก่อน ไม่ใช่เขียนเรื่องไปเรื่อยๆ
ให้กำหนดก่อนว่าเราจะให้การ์ตูนจบในกี่หน้า ต้องกำหนดให้ได้ 4 หน้า / 8 หน้า / 15 หน้า / 30 หน้า / 50 หน้า จะกี่หน้าก็จัดไป แล้วแบ่งจำนวนหน้าของเราออกเป็น 4 ช่วง คร่าวๆ ดังนี้
ช่วงที่ 1 คือ ช่วงเกริ่นตัวละคร
ให้คนอ่านรู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไปทำไม ค้นหาอะไรอยู่
ตัวอย่าง : กาลครั้งหนึ่ง มีเด็กเลี้ยงแกะที่ชอบพูดโกหกชาวบ้านว่าหมาป่ามากินแกะ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนแต่เด็กเลี้ยงแกะไม่สำนึก กลับรู้สึกสนุกที่ได้ทำ
ช่วงที่ 2 คือ ช่วงปมปัญหา
เป็นช่วงที่ยกประเด็นปัญหาที่คนเขียนต้องการจะสื่อมาพูด ถ้ายังเริ่มต้นก็เอาสัก 1 ปัญหาก่อน แต่ถ้าชำนาญก็ใส่หลายๆปัญหาจะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นได้มาก
ตัวอย่าง : วันหนึ่ง หมาป่ามากินแกะจริงๆ เด็กน้อยพยายามเรียกร้องให้ชาวบ้านช่วย แต่ชาวบ้านไม่ช่วย
ช่วงที่ 3 คือ ช่วง Climax
เป็นช่วงที่แสดงวิธีการแก้ปัญหาของตัวละคร และแสดงผลหลังจากแก้ปัญหาไปแล้วว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร โดยมากช่วงนี้จะต้องมีฉากโชว์ ที่รุนแรง สวยงาม หรือ ประทับใจที่สุด
ตัวย่าง : แกะถูกหมาป่ากินเรียบ นึกเสียใจว่าจะไม่ทำอีก (ฉาก Climax โชว์ความโหดร้ายของหมาป่าความเจ็บปวดของแกะ และความเสียใจของเด็กน้อยตามด้วยชาวบ้านรุมกระทืบก็ได้)
ช่วงที่ 4 คือ ช่วงตอนจบ
เป็นช่วงที่แสดงถึงผลการเคลียร์ปัญหาต่างๆในเรื่องให้หมด เป็นตอนปลอบใจคนอ่าน ทำให้คนอ่านรู้สึกผ่อนคลายลงหลังจากเจอเหตุการณ์ Climax ที่หนักๆ
ตัวอย่าง : เด็กน้อยกลับใจ ไม่พูดโกหกอีกเลย (เคลียร์ปมปัญหาทั้งหมด และปลอบใจคนอ่านว่าเด็กน้อยกลับใจแล้ว จะไม่พูดโกหกจนหมาป่ากินแกะหมดอีก)
โดยพื้นฐานเรื่องราวจะวนอยู่ใน 4 ช่วงนี้ ถ้าเขียนเป็นเรื่องยาวๆ ก็คือ พอจบ 4 ช่วงนี้ ก็ขึ้น 4 ช่วงใหม่ไปเรื่อยๆ คนอ่านจะติดตามวิธีแก้ปัญหาของตัวละครและไม่ทำให้เนื้อเรื่องเราอีรุงตุงนัง
ในกรณีที่เรื่องยาวๆมากๆ เช่น การ์ตูนที่มีจำนวนหน้า 50 - 100 หน้าขึ้นไป จำนวนของ 4 ช่วงนี้จะต้องถูกซอยย่อยอยู่ใน 4 ช่วงใหญ่อีกทีนึง ภาษาภาพยนตร์เรียกว่าการใส่ Subplot
ซับพล็อตใช้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเรื่อง แต่มันค่อนข้างจะยาก ก็เลยยังไม่แนะนำให้ข้ามขั้นมาใช้ซับพล็อต ถ้ายังเขียนระดับเรื่องสั้นให้สนุกไม่ได้
อนึ่ง การวางโครงเรื่องอาจทำลายกฏ 4 ข้อ นี้ได้ ถ้าเขียนชำนาญแล้วจะพลิกแพลงได้ แต่ไม่แนะนำให้พลิกแพลงถ้ายังไม่ชำนาญ
ที่สำคัญ ถ้าจะให้เรื่องของการ์ตูนสนุกน่าสนใจสำหรับคนอ่านการ์ตูน คาแร็กเตอร์ตัวเอกควรจะเป็นลักษณะที่คนการ์ตูนชอบอ่าน ให้หาข้อมูลคาแร็กเตอร์ที่เป็นที่นิยมในหมู่คนอ่านการ์ตูนด้วย
credit : http://musashicenter.forumup.com/ ศูนย์ฝึกอบรมกิจกรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น มุซาชิ
ถามมา......
"หลายครั้งเราต้องการจะคิดเรื่องขึ้นมาเรื่องหนึ่ง แต่พอเขียนไปได้สักพักเราก็เหมือนวกกลับมาที่เดิมเราควรจะทำอย่างไรดีใหรู้สึกว่า มันไม่น่าเบื่อ และไม่วกไปวนมา ช่วยแนะนำด้วยค่ะ "
ตอบไป.....
เอาแบบพื้นฐาน และแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็ว เราต้องหัดวางโครงเรื่องก่อน ไม่ใช่เขียนเรื่องไปเรื่อยๆ
ให้กำหนดก่อนว่าเราจะให้การ์ตูนจบในกี่หน้า ต้องกำหนดให้ได้ 4 หน้า / 8 หน้า / 15 หน้า / 30 หน้า / 50 หน้า จะกี่หน้าก็จัดไป แล้วแบ่งจำนวนหน้าของเราออกเป็น 4 ช่วง คร่าวๆ ดังนี้
ช่วงที่ 1 คือ ช่วงเกริ่นตัวละคร
ให้คนอ่านรู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไปทำไม ค้นหาอะไรอยู่
ตัวอย่าง : กาลครั้งหนึ่ง มีเด็กเลี้ยงแกะที่ชอบพูดโกหกชาวบ้านว่าหมาป่ามากินแกะ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนแต่เด็กเลี้ยงแกะไม่สำนึก กลับรู้สึกสนุกที่ได้ทำ
ช่วงที่ 2 คือ ช่วงปมปัญหา
เป็นช่วงที่ยกประเด็นปัญหาที่คนเขียนต้องการจะสื่อมาพูด ถ้ายังเริ่มต้นก็เอาสัก 1 ปัญหาก่อน แต่ถ้าชำนาญก็ใส่หลายๆปัญหาจะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นได้มาก
ตัวอย่าง : วันหนึ่ง หมาป่ามากินแกะจริงๆ เด็กน้อยพยายามเรียกร้องให้ชาวบ้านช่วย แต่ชาวบ้านไม่ช่วย
ช่วงที่ 3 คือ ช่วง Climax
เป็นช่วงที่แสดงวิธีการแก้ปัญหาของตัวละคร และแสดงผลหลังจากแก้ปัญหาไปแล้วว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร โดยมากช่วงนี้จะต้องมีฉากโชว์ ที่รุนแรง สวยงาม หรือ ประทับใจที่สุด
ตัวย่าง : แกะถูกหมาป่ากินเรียบ นึกเสียใจว่าจะไม่ทำอีก (ฉาก Climax โชว์ความโหดร้ายของหมาป่าความเจ็บปวดของแกะ และความเสียใจของเด็กน้อยตามด้วยชาวบ้านรุมกระทืบก็ได้)
ช่วงที่ 4 คือ ช่วงตอนจบ
เป็นช่วงที่แสดงถึงผลการเคลียร์ปัญหาต่างๆในเรื่องให้หมด เป็นตอนปลอบใจคนอ่าน ทำให้คนอ่านรู้สึกผ่อนคลายลงหลังจากเจอเหตุการณ์ Climax ที่หนักๆ
ตัวอย่าง : เด็กน้อยกลับใจ ไม่พูดโกหกอีกเลย (เคลียร์ปมปัญหาทั้งหมด และปลอบใจคนอ่านว่าเด็กน้อยกลับใจแล้ว จะไม่พูดโกหกจนหมาป่ากินแกะหมดอีก)
โดยพื้นฐานเรื่องราวจะวนอยู่ใน 4 ช่วงนี้ ถ้าเขียนเป็นเรื่องยาวๆ ก็คือ พอจบ 4 ช่วงนี้ ก็ขึ้น 4 ช่วงใหม่ไปเรื่อยๆ คนอ่านจะติดตามวิธีแก้ปัญหาของตัวละครและไม่ทำให้เนื้อเรื่องเราอีรุงตุงนัง
ในกรณีที่เรื่องยาวๆมากๆ เช่น การ์ตูนที่มีจำนวนหน้า 50 - 100 หน้าขึ้นไป จำนวนของ 4 ช่วงนี้จะต้องถูกซอยย่อยอยู่ใน 4 ช่วงใหญ่อีกทีนึง ภาษาภาพยนตร์เรียกว่าการใส่ Subplot
ซับพล็อตใช้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเรื่อง แต่มันค่อนข้างจะยาก ก็เลยยังไม่แนะนำให้ข้ามขั้นมาใช้ซับพล็อต ถ้ายังเขียนระดับเรื่องสั้นให้สนุกไม่ได้
อนึ่ง การวางโครงเรื่องอาจทำลายกฏ 4 ข้อ นี้ได้ ถ้าเขียนชำนาญแล้วจะพลิกแพลงได้ แต่ไม่แนะนำให้พลิกแพลงถ้ายังไม่ชำนาญ
ที่สำคัญ ถ้าจะให้เรื่องของการ์ตูนสนุกน่าสนใจสำหรับคนอ่านการ์ตูน คาแร็กเตอร์ตัวเอกควรจะเป็นลักษณะที่คนการ์ตูนชอบอ่าน ให้หาข้อมูลคาแร็กเตอร์ที่เป็นที่นิยมในหมู่คนอ่านการ์ตูนด้วย
credit : http://musashicenter.forumup.com/ ศูนย์ฝึกอบรมกิจกรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น มุซาชิ
Thu Jun 19, 2014 10:27 pm by Iamletandgo1
» ฮือฮา!! หญิงปริศนา ย้อนเวลา เดินคุยโทรศัพท์มือถือ
Thu Jun 19, 2014 10:22 pm by Iamletandgo1
» คุณว่า One piece จะจบเเบบไหน
Thu Jun 19, 2014 10:18 pm by Iamletandgo1
» ประวัติของนายอาเบะ และตำนานยาราไนก้า
Thu Jun 19, 2014 10:17 pm by Iamletandgo1
» 10 อันดับหนังสือการ์ตูนที่ขายดีที่สุด 2010 (ไตรมาสแรกของปี)
Thu Jun 19, 2014 10:03 pm by Iamletandgo1
» ประวัติคาวมเป็นมาของผีญี่ปุ่น คุณชอบตัวไหนกันน้า?
Thu Jun 19, 2014 10:02 pm by Iamletandgo1
» นี้สินะ วิวัฒนาการของการแอบดู -0-
Thu Jun 19, 2014 10:00 pm by Iamletandgo1
» หนทางใหม่ในการติดต่อกับ anime-activate : Skype
Thu Jun 19, 2014 9:58 pm by Iamletandgo1
» หนทางใหม่ในการติดต่อกับ anime-activate
Thu Jun 19, 2014 9:53 pm by Iamletandgo1