พล็อตเรื่องตามกลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้อ่านของเราอยู่ในช่วงอายุเท่าไร เพศอะไร
สำหรับการวาดการ์ตูนนั้น "ออกแบบเรื่องดีมีชัยไปกว่าครึ่ง" แม้ว่าอาจจะเขียนภาพไม่เข้าขั้นแต่ การ์ตูนเรื่องนั้นๆก็จะเป็นที่จับตามองทันที เช่น การ์ตูนเกี่ยวกับการทำอาหารไทยย่อมเป็นที่น่าจับตามองมากการออกแบบเรื่องการ์ตูนสำหรับลงนิตยสารในไทย เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังนี้
กลุ่มผู้อ่านของนิตยสารที่การ์ตูนของเราจะลงอยู่ในช่วง อายุเท่าไร เพศอะไร ?
1.1 กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ลงไป
(ตัวอย่างผลงานเหมาะกับกลุ่มนี้ : Pocket Monster)
ถ้าเป็นเด็กผู้ชายพวกเขาชอบการ์ตูนแนวเด็กผู้ชาย หรือที่เรียกว่าแนว"โชเน็น" ประกอบด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับความพยายาม และการต่อสู้พิทักษ์เหล่าร้าย เรื่องราวมิตรภาพ
ตัวเอกของเรื่องจะต้องเป็นคนที่เข้าใจง่ายไม่ควรเป็นคนที่ซีเรียส หรือ เก็บกด ไม่เปิดเผย สามารถร่าเริงได้
ที่สำคัญ การ์ตูนเด็กผู้ชายจะต้องมีการต่อสู้ที่ดุเดือดเร้าใจ แต่ไม่ต้องใช้ภาพโหดร้ายขนาดไส้ทะลัก และต้องมีมุขตลกแทรกตลอดเพื่อลดความเครียดตามท้องเรื่องและทำให้เข้าใจง่าย
ประเด็นที่หยิบมาเล่าเรื่องควรเป็นประเด็นที่เด็กๆสามารถเคยพบเจอมาก่อน เช่น ความอยากเก่ง ความรู้สึกอึดอัดที่มีต่อผู้ใหญ่ ความอยากผจญภัย
และต้องผูกปมเรื่องไม่ซับซ้อนเกินไป ให้อาศัยการ"หัก มุมของเรื่อง" เอาจะดีกว่าการอธิบายหรือพรรณนาด้วยดราม่ายากๆหรือการเล่าแบบนามธรรม เพราะเด็กจะไม่เข้าใจและเบื่อได้
ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จง่ายให้เลือกเขียนเป็นเรื่องจบในตอน และควรทำอารมณ์ในเรื่องให้มีความรู้สึกเกินพอดี เช่นดีใจมาก เสียใจมาก เด็กๆจะรับรู้ความรู้สึกของการ์ตูนได้ง่าย ขึ้น
ถ้าเป็นเด็กผุ้หญิงโดยปกติจะอ่านการ์ตูนน้อยกว่าเด็กผู้ชาย และส่วนมากการ์ตูนที่เด็กผู้หญิงชอบจะมีเด็กผู้ชายและ โอตาคุบางคนชอบด้วย เช่น การ์ตูนแนวสาวน้อยผู้พิทักษ์ความยุติธรรม
โครงเรื่องจะออกแบบมาลักษณะเดียวกับการ์ตูนเด็กที่กล่าวไว้ข้าง ต้น คือ ต้องหยิบประเด็นที่เด็กๆกำลังสัมผัส อยู่มา ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงอาจใช้ประเด็นเรื่อง ความรัก ความน่ารัก การช่วยเหลือคนอื่น มิตรภาพระหว่างเพื่อน
การ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิงจะต้องมีการออกแบบคาแร็กเตอร์ที่น่ารักและถูกใจเด็กผู้หญิงด้วย เพราะเด็กผู้หญิงจะใส่ใจกับความน่ารักเสมอ ดังนั้นถ้าจะออกแบบเรื่องให้ถูกใจเด็กๆทุกคน จะต้องค้นคว้าและสวมจิตวิญญาณสมัยเด็ก ว่าเราเคยสนใจเรื่องอะไรบ้าง
- ชีวิตในห้องเรียน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ความรู้สึกต่ออาจารย์
- ความอยากรู้อยากเห็น การฝันถึงโลกที่น่าสนุก การผจญภัย"ถ้ามีหุ่นยักษ์มารับเราออกไปจากห้องเรียนก็คงดี"
- ความรู้สึกต่อต้านผู้ใหญ่ในสายตาเด็กๆ "ผู้ใหญ่น่ะ หัวแข็งไม่เข้าใจเราเลย ขี้บ่นด้วย แต่บางคนก็ใจดี"
- ความรู้สึกว่าอยากเก่ง อยากเหาะได้ อยากแปลงร่างแล้วเก่งขึ้นหรือมีอภินิหาร ชดเชยความรู้สึกที่ทำหลายๆสิ่งไม่ได้ในโลกจริงเพราะอายุยังน้อย การที่พวกเขาอ่านการ์ตูน พวกเขาจะมีกำลังใจมากขึ้นที่จะพยายามในสิ่งต่างๆ เป็นลักษณะของการ์ตูนฮีโร่
- เด็กๆชอบเรื่องตลกเสมอ ถ้าสามารถเขียนการ์ตูนให้ขำกลิ้งได้จะสามารถวาดแนวโชเน็นได้เปรียบมาก
- ตอนแรกๆให้ทำการ์ตูนเน้นแนวตลกก่อนจะดึงดูดเด็กได้มากส่วนช่วงกลางๆและช่วงหลังๆสามารถใส่เรื่องดราม่าที่เศร้าหรือเครียดได้ แต่ต้องไม่มากเกินไป และควรคั่นสลับตอนกับเรื่องเบาๆ ตลกๆ เพื่อลดความเคีรยด มีเด็กหลายคนที่ไม่สามารถทนอ่านต่อได้เพราะ เครียด หรือเรื่องเศร้าเกินไป ให้ระวังข้อนี้ด้วย
- การ์ตูนแนวนี้ถ้าส่วนผสมเรื่องออกมาดีจะเป็นที่นิยมทุกเพศทุกวัย เพราะอ่านง่าย เข้าใจง่าย ต้องจัดสัดส่วนดราม่าและความเพ้อฝันให้ได้อย่างแนบเนียบ จะเป็นการ์ตูนที่เป็นกุศโลบายที่สอนให้คนเป็นคนดีอย่างสนุกสนาน
- อย่าใช้ข้อมูลในวัยเด็กของเราเพียงคนเดียวให้ใช้มุมมองของหลายๆคน อาจถามเพื่อนว่าวัยเด็กเค้าชอบอะไร เพราะการจะทำการ์ตูนให้เป็นที่ชื่นชอบจะต้องมีความเป็นสากล คือ ใครๆก็สามารถรู้สึกถึงเรื่องนี้ได้ "อืมใช่ ฉันก็รู้สึกอย่างนั้นแหละ" "อ๊ะ ตอนเด็กๆฉันก็คิดแบบนี้เหมือนกัน" "การ์ตูนนี้ทำให้ฝันฉันเป็นจริง"
- ลายเส้นของการ์ตูนมีผลต่อเด็กมาก ตัวละครที่ถูกวาดขึ้นด้วยเส้นง่ายๆจะเป็นที่จดจำได้มากกว่าภาพเหมือนจริงที่มีรายละเอียดเยอะเกินความสามารถรับรู้อันจำกัดของเด็ก
จากทฤษฎีจิตวิทยา Gestalt เกี่ยวกับเรื่องของการรับรู้ ซึ่งแบ่งเป็นการแยกแยะว่าอันไหน คือ ส่วนเด่น "figure" และ อันไหนคือพื้นหลัง "ground"เด็กจะมีความสามารถในการรับรู้ที่จำกัดเนื่องจากประสบการณ์ ส่งผลทำให้เด็กรับรู้ถึงรายละเอียดได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ และจดจำได้เพียงแต่โครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ดังนั้นการ์ตูนโชเน็นจะออกแบบให้ตัวเอกของเรื่องนั้นดูวาดง่ายและไปเน้นความสวยงามที่ฉากหลังแทนเพราะการ รับรู้ถึง "ground" จะส่งผลต่อ "figure"โดยอัติโนมัตินี่จึงเป็นที่มาของการวาดฉากหลังที่สวยเกินตัวละคร ของการ์ตูนบางเรื่อง
- ต้องคำนึงเสมอว่าโลกหมุนไปเรื่อยๆ สังคมในแต่ละวัยเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สมัยก่อนเด็กๆอาจชอบตัวเอกแนวนึง มาวันนี้อาจจะชอบอีกแนวนึงก็ได้ ควรหาข้อมูล จากเด็กในยุคปัจจุบันและเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาอย่างถึงแก่นแท้ จะเข้าใจเพียงผิวเผินไม่ได้เช่น ถ้าวาดการ์ตูนเด็กที่ชอบเกมออนไลน์ ก็ต้องเข้าใจเด็กที่เล่นเกมออนไลน์อย่างแท้จริง จะใช้ความรู้สึกแบบผู้ใหญ่มองไม่ได้
- ควร ใส่ตัวประกอบที่เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้อ่านอื่นๆเข้าไปในท้องเรื่องด้วย เพื่อดึงกลุ่มคนอ่านให้ขยายกว้างตลาดการ์ตูนโชเน็นสามารถขยายสู่ตลาดผู้ใหญ่ ได้ถ้ามีสิ่งที่พวกเขาถูกใจปนอยู่ในเรื่องอย่างลงตัว เช่น การแอบเนียนใส่ตัวละคร "โมเอะ"(สาวน้อยน่ารักสุดขั้ว)เข้าไปในเรื่องการ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชาย แม้ว่าเด็กๆจะไม่ได้เอะใจหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษ แต่กลุ่มผู้อ่านอื่นๆเช่นกลุ่มผู้อ่านที่รักการ์ตูนสาวน้อย จะรู้สึกสนใจการ์ตูนเรื่องๆนั้นมากขึ้น "อ๊ะ การ์ตูนเรื่องนี้เป็นพวกเดียวกับเราเลย" "เราอ่านเรื่องนี้เพราะคนนี้น่ารักเนี่ยแหละ"การ์ตูนเป็นศิลปะเชิงพาญิชย์ ถ้าทำการบ้านเรื่องการตลาดได้ดี ผู้อ่านพอใจ การ์ตูนก็จะประสบความสำเร็จ
- ควรทำการ์ตูนแนวแอ็คชั่น ตลก ผจญภัย มีดราม่าได้เล็กน้อยแต่ไม่ควรเน้น ถ้าเป็นแฟนตาซีจะต้องเน้นการผจญภัยโดยระวังเรื่องการใส่ดราม่ามากเกินไป อย่างถึงที่สุด มีการ์ตูนแฟนตาซีหลายเรื่อง ที่เริ่มเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ดราม่าเกินพอดี ซึ่งมักจะเป็นช่วงกลางเรื่องถ้าเขียนการ์ตูนแฟนตาซีสำหรับเด็กต้องระวังข้อ นี้ให้มากๆ และไม่ควรคิดทำการ์ตูนสอนเด็กดีโดยตรงควรใส่แทรกแบบเนียนๆโดยไม่ให้รู้ตัว
- การแต่งพล็อตให้แหวกแนวในกลุ่มเป้าหมายเด็ก หัวใจสำคัญอยู่ที่ "รูปแบบของกิจกรรมหรือการต่อสู้ในเรื่อง"
การจะทำการ์ตูนให้เป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมต้องค้นหารูปแบบการต่อสู้ในเรื่องที่แหวกแนว เร้าใจ เช่น การ์ตูนการต่อสู้พลังจิตแหวกแนว การ์ตูนเล่นการ์ดที่แหวกแนว การ์ตูนสาวน้อยผู้พิทักษ์ที่มีการต่อสู้ของสาวน้อยที่แหวกแนว
ไม่จำเป็นต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด แต่ต้องมีจุดเด่นที่ทำให้เป็นที่จดจำและเป็นที่ชื่นชอบของเด็ก(ขอเน้นว่า ต้องออกแบบให้เป็นที่ชื่นชอบของเด็กด้วย)
1.2 กลุ่มวัยรุ่นชายหรือหญิงอายุระหว่าง 12 - 18 ปี
(ตัวอย่างการ์ตูนกลุ่มนี้ : Bleach เทพมรณะ)
กลุ่มนี้ก็อ่านการ์ตูนโชเน็นหรือ การ์ตูนเด็กผู้หญิงก็ได้เช่นกันแนวที่พวกเขาชื่นชอบเป็นพิเศษ
แน่นอนมันจะต้องเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่นที่พวกเขาได้ประสบอยู่ทุกๆวัน การเรียนที่ยากเย็นหรือน่าเบื่อ เพื่อนที่เชื่อใจได้ความรัก กีฬา นักเลง
วัยรุ่นจะสนใจ "ความเป็นตนเอง"พวกเขาจะชอบคิดเกี่ยวกับกับตนเองว่ามีความรู้สึกอะไรบ้างต่อเรื่องต่างๆ พวกเขาจะชอบกังวลกับสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกระหว่างตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการ์ตูนวัยรุ่นจะมี เนื้อเรื่องที่ซับซ้อนและขัดแย้งกันระหว่างความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อน พ่อแม่ และอาจารย์
พวกเขาจะวาดฝันถึงความทรงจำที่แสนสนุกเพราะยังติดกับความเป็นเด็ก แต่กระนั้นพวกเขาก็รับรู้ถึงโลกแห่งความเป็นจริงมากกว่าเดิม ทำให้พวกเค้ามักมองโลกในมุมกลับ ต่อต้าน
"ฉันน่าจะทำแบบนี้ได้ แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้"
"ฉันอยากจะทำให้ได้ แต่ก็มีอุปสรรคทำร้ายจิตใจเสมอ ถึงอย่างไรฉันจะพยายามต่อไป"
การ์ตูนวัยรุ่นสำหรับผู้ชายอาจจะกล่าวถึงเรื่องกีฬา นักเลง พวกเขาอาจมีความสนใจในการ์ตูนหุ่นยนต์ซึ่ง เป็น symbolic(สัญลักษณ์) ถึงพลังอำนาจที่พวกเขาต้องการจะไขว่คว้า หรือการ์ตูนสาวน้อยซึ่งเป็น symbolic ทางเพศที่พวกเขาสนใจแต่ยังขาดประสบการณ์ในชีวิตจริง
กลุ่มผู้อ่านวัยรุ่นจะสนใจ "ความรู้สึก" เช่น ความรู้สึกสะใจบ้าคลั่ง โรแมนติก ความรู้สึกที่ประสบในโศกนาฎกรรมชะตากรรมอะไรสักอย่าง การ์ตูนวัยรุ่นจะถ่ายทอดดราม่าในลักษณะที่ซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมได้มากกว่าการ์ตูนสำหรับเด็ก อาจมีการหยิบยกปรัชญาที่เข้าใจได้ไม่ยากเกินไปมาเล่าเรื่อง เช่น การทำวันนี้ให้ดีที่สุด ความกตัญญูเป็นลักษณะของคนดี โลกนี้ไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายๆ ปรัชญาที่นำมาเล่าจะต้องอยู่ในความสนใจของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน
ตัวเอกของเรื่องควรเป็นวัยรุ่น เพราะผู้อ่านเป็นวัยรุ่นที่พยายามจะตอบคำถามกับความรู้สึกตนเองเสมอ เช่น"ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้บ้างเรารู้สึกอย่างไร ทำอย่างไร"
วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบเลียนแบบ ชอบหาเอกลักษณ์ สนใจความรุนแรง และ เพศตรงข้าม แฟชั่นของตัวละครในเรื่องจะต้องถูกออกแบบมาให้ถูกใจพวกเขา ถ้าทำให้กลุ่มผู้อ่านวัยรุ่นบอกได้ว่า "เท่ห์สุดๆ" หรือ "น่ารักโคตรๆ"การ์ตูนนั้นจะเป็นที่น่าสนใจทันที และอาจถูกนำไปคอสเพลย์(แต่งตัวตามตัวละคร)
ดังนั้นการวาดการ์ตูนเพื่อตอบสนองกลุ่มวัยรุ่นควรจะต้องมีความรู้เรื่องแฟชั่นพอตัวเลยทีเดียว ถ้าไม่มีความสามารถทางแฟชั่นมากพอก็สามารถใช้วิธีการหาข้อมูลที่มีอยู่จริงก็ได้
- การ์ตูนวัยรุ่นจะหยิบประเด็นที่ใกล้เคียงกับการ์ตูนเด็กเพราะยังเป็นวัย เรียนมีความฝันมากมาย เราจะเห็นว่าเด็กวัยรุ่นก็อ่านการ์ตูนโชเน็นหรือการ์ตูนเด็กผู้หญิงเช่นกัน
- เหมือนการ์ตูนเด็ก ถ้าเขียนตลกได้ จะได้เปรียบมากทำให้อ่านง่าย
- เป็นช่วงกลุ่มอายุที่มักตื่นเต้นกับของที่น่าตื่นตาตื่นใจ(อลังการ) หรือ งดงาม ถ้าลายเส้นสวยจะดึงดูดมากเช่น กัน เป็นช่วงอายุที่เด็กหลายคนอาจซื้อเพียงเพราะวาดสวยเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อเรื่องที่ถูกออกแบบให้ถูกใจจะทำให้การ์ตูนนั้นขยายวง กว้างได้มากกว่า เพราะมีหลายคนโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ที่ชอบอ่านการ์ตูนที่เขียนได้มันส์สะใจ โดยไม่ใส่ใจกับเรื่องลายเส้นเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นเนื้อเรื่องดีย่อมมาก่อน
- สามารถเขียนมุมมองผู้ใหญ่ให้ค้านกับมุมมองของตัวเอกที่เป็นวัยรุ่นได้ เนื้อเรื่องจะกลายเป็นความขัดแย้งสะท้อนปัญหาในใจของวัยรุ่นได้ดี
- การแต่งพล็อตให้แหวกแนวในกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น หัวใจสำคัญอยู่ที่ "ความแหวกแนวของคาแร็กเตอร์"
การ์ตูนวัยรุ่นจะต้องถ่ายทอด"ความ รู้สึก"อย่างมาก ตัวที่แหวกแนวไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเอกแต่อย่างน้อยควรเป็นตัวละครควรที่มีความสำคัญกับเรื่องนั้นๆ "ฉันชอบคนแบบนี้จัง เท่ห์ดี แปลกดี"สำหรับการ์ตูนวัยรุ่นนั้นอาจเรียกได้ว่า ออก แบบตัวละครเก่งมีชัยไปกว่าครึ่งเลยก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องอยู่พื้นฐานของเนื้อเรื่องที่วัยรุ่นสนใจ
- ถ้าใช้เนื้อเรื่องสูตรสำเร็จ วัยรุ่นอาจมีแนวโน้มที่จะต่อต้านได้มากกว่าการ์ตูนเด็ก จำไว้ว่าการออกแบบการ์ตูนวัย รุ่นก็เหมือนกับการปั้นดาราเลยทีเดียว ถ้า ออกมาซ้ำๆคล้ายๆกันเป็นสูตรสำเร็จก็จะเบื่อหน่ายต้องออกแบบ ให้นำแฟชั่นเนื้อเรื่องในตอน นั้นโดยการผสานกันระหว่างสิ่งยอดนิยมที่มีอยู่เดิมและสิ่งแปลกใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การนำเรื่องสาว ชุดเมดมารวมกับการต่อสู้ชิงความเป็นหนึ่งในร้านอาหารอีสาน
- ข้อควรระวัง ความแหวกแนวที่นำมาใช้ควรจะต้อง" Cool !! " คือ เจ๋ง โดน ใช่เลย
1.3 กลุ่มผู้ใหญ่ชายหรือหญิงอายุ 18 +
(ตัวอย่าง การ์ตูนเหมาะกับกลุ่มนี้ : Galaxy Express 999 )
การ์ตูนผู้ใหญ่เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องที่อ้างอิงมาจากความเป็นจริงของโลกนี้ ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงสงคราม การเมือง ปัญหาสังคม และเรื่องเพศ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ประสบอยู่กับตัวอยู่เสมอในโลกแห่งความเป็นจริง
พวกเค้าจะต้องการ "ดราม่า" หรือ ต้องการหาคำตอบของการมีชีวิตอยู่ กลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่จะชื่นชอบการ์ตูนที่มีความสมจริงทางดราม่าอย่างมากรวมทั้งชื่นชอบการ์ตุนที่ให้ข้อมูลเรื่องที่พวกเค้าสนใจได้อย่างสมจริง เช่น การ์ตูนสงครามเวียดนาม พวกเขาจะชอบมากถ้าการ์ตูนนั้นถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และเนื้อหาสงครามได้อย่างสมจริงสมจัง
ผู้เขียนการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่จะต้องทำการบ้านเรื่องข้อมูลอย่างมาก ซึ่งถ้าผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ตนเองมีความถนัดและเชี่ยวชาญก็ จะสามารถเขียนออกมาได้ดีเช่น ผู้เขียนที่จบคณะแพทย์และเป็นหมอก็จะสามารถเขียนการ์ตูนเกี่ยวกับหมอได้ลึก ซึ้งกว่าคนที่ไม่เคยมี ประสบการณ์เลย
กลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่จะต้องการการ์ตูนที่มีสาระเสมอ อย่างน้อยก็สาระทางปรัชญาของการมีชีวิตอยู่ พวกเขาจะถามตัวเองก่อนจะเลือกซื้อการ์ตูนเสมอว่า "อ่านแล้วได้อะไร" อาจจะเป็นเรื่องข้อคิดของการดำรงชีวิต ตลอดจนความรู้เฉพาะทาง เช่น คนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นดนตรีตามความเป็นจริงก็จะเลือกซื้อการ์ตูนดนตรี ที่มีความสมจริง
การ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่อาจจะมีเรื่องเพ้อฝันบ้าง แต่เรื่องเพ้อฝันเหล่าน้นจะ ถูกวางอยู่บนรากฐานของปรัชญาที่อ้างอิงจากชีวิตจริง มีการเสียดสีสังคมจริงผ่านทาง symbolic ต่างๆ เช่น การ์ตูนเกี่ยวกับการผจญภัยด้วยรถไฟไปยังดาวต่างๆในจักรวาล รถไฟจะเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับเส้นทางของชีวิตที่เรา ได้เดินทางไปพบเรื่องราวต่างๆ
การแทนสัญลักษณ์เหล่านี้จะต้องใช้ความชำนาญและความแม่นยำอย่างมาก ต้องระวังว่าจะใช้สัญลักษณ์ที่ขัดกับความหมายที่จะสื่อ หรือสัญลักษณ์นั้นอาจจะแสดงความหมายที่ตรงเกินไปจนดูจับทางได้ ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่ขัดกันได้แก่การตั้งใจจะใช้สัญลักษณ์แทนความอิสระแต่กลับใช้สัญลักษณ์ รองเท้า(ผูกพัน) ส่วนตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่ตรงเกินไปได้แก่ ตั้งใจว่าจะใช้สัญลักษณ์แทนความเป็นไทยก็ใช้ลายไทย
หากคิดจะประสบความสำเร็จในการวาดการ์ตูนในกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่นี้จะ มีสิ่งที่ต้องคำนึงมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นการ์ตูนที่จะต้องออกแบบเรื่องให้ได้รับการยอมรับเทียบเท่า ภาพยนตร์เลยทีเดียว
- สิ่งที่ต้องคำนึง กลุ่มผู้ใหญ่ในสังคมไทยหลากหลายมาก โดยเฉพาะ กลุ่มที่อายุ 30 ขึ้นไปจะอ่านการ์ตูนน้อยกว่ากลุ่มเป้าหมายอื่นมาก อาจบอก ได้ว่าในสภาพปัจจุบันนี้หากต้องการเขียนการ์ตูนเรื่องให้กลุ่มผู้ใหญ่โดย เฉพาะ จะเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว เว้นแต่จะทำการ์ตูนที่เด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านได้ แต่นั่นก็จะเป็นการดึงกลุ่มตลาดเด็กมาช่วย ซึ่งเห็นว่าถ้าเช่นนั้นก็ควรจะเลือกทำตลาดเด็กและวัยรุ่นไปเลยจะดีกว่า
กลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่อายุ 30 ขึ้นไปมักจะชอบการ์ตูนตลกที่เป็นแก๊กสั้นๆอย่างที่เราเห็นได้ในหนังสือพิมพ์ หรือ ขายหัวเราะ มากกว่าการ์ตูนไสตล์ "มังกะ" นอกจากนี้พวกเขายังมักมองภาพการ์ตูนญี่ปุ่นในแง่ลบอีกด้วย
การทำการ์ตูนผู้ใหญ่โดยเฉพาะจึงยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนัก แต่อาจจะจับตลาดอายุ 18 - 30 ปีได้บ้าง ซึ่งพวกเขาจะเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นที่ชอบทั้งการ์ตูนวัยรุ่นและการ์ตูนผู้ใหญ่ เลยทีเดียว
- กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 18 - 30 ปี พวกเขาจะยังสนใจหลายๆเรื่องที่เด็กวัยรุ่นสนใจ แต่ก็สนใจ "ปรัชญา"ชีวิต และ "ความรู้" เพิ่มเติมมากขึ้น บางครั้งผู้เขียนการ์ตูนวัยรุ่นและเด็กที่เป็นผู้เขียนที่ฉลาด จะแอบแฝงปรัชญาและสัญลักษณ์ทางปรัชญาไว้ตามท้องเรื่องที่สามารถเทียบเคียง ได้กับชีวิตจริงอยู่แล้ว ทำให้การ์ตูนนั้นๆมีความเป็น"สากล" คือ ทุกเพศทุกวัยสามารถสนุกได้และสามารถมองต่างมุมกัน การ์ตูนเรื่องเดียวกันเด็กมองตัวเอกอย่างหนึ่ง วัยรุ่นมองอีกอย่างหนึ่ง ผู้ใหญ่ก็จะมองอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
การ์ตูนในลักษณะนี้จะต้องมีการวางแผนและใช้ข้อมูลอย่างรอบคอบ โดยไม่ลืมที่จะใส่ความเบาสมองลงไป จัดเป็นการ์ตูนที่อาศัยศาสตร์และศิลป์อย่างมีความชำนาญ โดยมากถ้าการ์ตูนประสบความสำเร็จก็อาจกลายเป็นการ์ตูนคลาสสิคอมตะได้เลยทีเดียว
(ตัวอย่าง การ์ตูนคลาสสิคอมตะ : HINOTORI)
- กลุ่มผู้ใหญ่จะลดความสนใจเกี่ยวกับภาพลงซึ่งอาจจะขอเพียงอ่านรู้เรื่อง เข้าใจง่าย ก็เป็นได้ หรือจะเป็นการ์ตูนที่วาดอย่างสมจริงสวยงามก็ไม่เกี่ยงเช่นกัน พวกเขาสนใจว่า "เค้าจะได้อะไร" จากการ์ตูนเรื่องนั้นมากกว่า อย่างไรก็ตามเราก็ควรทำงานภาพให้มีคุณภาพตามไสตล์เรา
- การ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องโป๊แต่ถ้าโป๊ก็ควรโป๊อย่างมีศิลปะ และงดงาม ผู้เขียนที่ขาดประสบการณ์ เรื่องเพศแต่ต้องการเขียนการฺ์ตูนกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่จะทำได้ไม่ดีเท่าที่ ควร เพราะความคิดในมุมมองของคน ที่ขาดประสบการณ์กับคนที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วนั้นค่อนข้างต่างกันเลยที เดียว หากเขียนเรื่องเพศด้วยความรู้เท่าไม่ ถึงการณ์จะทำให้สื่อออกมาขาดความสมจริง
- การเขียนเล่าประวัติชีวิตของวงการใดวงการหนึ่งซึ่งอ้างอิงจากความเป็นจริง เป็นการออกแบบเรื่องสำหรับกลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่เป็นทางเลือกที่ดีมาก เช่น ชีวิตของนักกีฬาวอลเลย์บอล
- การเขียนการ์ตูนสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ในประเทศไทยจะประสบความสำเร็จได้ เป็นอย่างดีหากมีการแทรก วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ไทยอย่างสมจริง และออกแบบได้ลงตัว การเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมควรออกหาข้อมูล อย่างจริงจัง ไม่ควรนึกเอาเอง เพราะอาจถูกกลุ่มผู้อ่านต่อต้านหากเราให้ข้อมูล ที่ผิดจากความจริงนั้นๆ เช่น หากเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าลีซอก็ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับเผ่าลีซออย่างละเอียดถี่ ถ้วนมิให้เกิดความผิดพลาดมิเช่นนั้นอาจถูกกลุ่มผู้อ่านจากเผ่าลีซอเรียกร้องให้หยุดตีพิมพ์เนื่องจาก ให้ข้อมูลที่มีผลเสียหายต่อภาพลักษณ์วัฒนธรรมของเขา
การเขียนการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่จะต้อง ระวังเรื่องนี้ให้ดีหากไม่มั่นใจในข้อมูล ควรเลี่ยงการเขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้น หรือนำไปดัดแปลงให้เป็นแฟนตาซี อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการ์ตูนผู้ใหญ่จะเน้นข้อคิดและปรัชญา
- นอกจากนี้ปรัชญาที่ใช้ควรมีความ ซับซ้อนมากขึ้นกว่าการ์ตูนสำหรับวัยรุ่นและเด็ก ตัวอย่างเช่น การ์ตูนเด็กอาจ ใช้ปรัชญา "ทำดีย่อมได้ดี" การ์ตูนวัยรุ่นอาจใช้ปรัชญา "ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น" และ การ์ตูนผู้ใหญ่อาจใช้ปรัชญา"พระเจ้าคือผู้สร้างและทำลายซึ่งพระเจ้าก็คือ มนุษย์นั่นเอง"
- การแต่งพล็อตให้แหวกแนวในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใหญ่หัวใจสำคัญอยู่ที่ "ข้อคิด ปรัชญา และความรู้"
ผู้ใหญ่มีการรับรู้ที่มากกว่าเด็กเนื่องจากประสบการณ์ชีวิต พวกเขาจึงต้อง การสิ่งที่เยียวยาหัวใจจากการความเหนื่อยล้าในต่อสู้และมี ชีวิตอยู่ในสังคม ซึ่งข้อคิด ปรัชญา ความรู้ที่ได้จากการ์ตูนนั้นจะต้องมีความสมจริงสามารถนำไปใช้หรือเทียบเคียงกับความเป็นจริงได้ พวกเขาต้องการการ์ตูนที่มี symbolic แทนชีวิตจริงในเนื้อเรื่อง เช่น อัศวินที่ยอมขายทุกสิ่งให้กับปิศาจเพื่อความฝันของตนเองโดยคิดว่าเพื่อนๆจะ ยอมมอบชีวิตให้เพราะเห็นว่า ความฝันของอัศวินคนนั้นสำคัญที่สุด อาจเทียบได้กับความทะเยอทะยานที่แสนเศร้าของระบบการเมืองในปัจจุบัน
การแหวกแนวด้วยข้อคิด ปรัชญา และความรู้ ก็คือการจับประเด็นทางสังคมที่อาจถูกลืม หรือยังไม่มีใครเคยเล่ามาใช้ เช่น อาจเขียนการ์ตูนเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางภัยพิบัติธรรมชาติในประเทศไทย
จะเห็นว่าความต้องการของกลุ่มผู้อ่านทั้ง 3 วัย เด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ จะมีความแตกต่างกัน ผู้เขียนการ์ตูนที่มีความชำนาญอาจสามารถทำให้การ์ตูนของตนเป็นที่ชื่นชอบของ ทั้ง 3 วัยซึ่งจะทำให้มีฐานผู้อ่านที่กว้างขวางมาก
การออกแบบเรื่องจะต้องคำนึงว่านิตยสารของการ์ตูนที่เราลงนั้นมีกลุ่มเป้าหมายใด ซึ่งหากตัวนิตยสารนั้นขาดความชัดเจนแล้ว ให้เลือกเขียนการ์ตูนสำหรับเด็กหรือวัยรุ่นที่ไม่ต้องเน้นดราม่ามากเกินไป จะลดความเสี่ยงที่ผู้อ่านจะเบื่อได้มากที่สุด หากผู้เขียนมีความมั่นใจในแนวการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ ควรออกรวมเล่มเดี่ยวจะดีกว่าลงนิตยสารการ์ตูน เนื่องจากกลุ่มผู้อ่านนิตยสารการ์ตูนมักจะเป็นเด็กกับวัยรุ่นที่เปี่ยมไปด้วยความฝันมากกว่า
ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนดูแลโปรเจ็คของการ์ตูน จะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดตามอายุอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ไม่ควรทึกทักเอาเอง ควรสำรวจกระแสนิยมของวัยนั้นๆอย่างจริงจังและวางแผนเรื่องให้อยู่ภายใต้กรอบ ของอายุผู้อ่านนั้น ให้ดูแลและตักเตือนผู้เขียนการ์ตูนเมื่อผู้เขียนลืมตัวเรื่องคอนเซปต์เรื่อง และพยายามจะใส่ดราม่ามากเกินพอดี คือ เขียนแบบอารมณ์พาไปแล้วกู่ไม่กลับนั่นเอง
--------------------------
บทความ พล็อตเรื่องตามกลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้อ่านของเราอยู่ในช่วงอายุเท่าไร เพศอะไร
ผู้เขียน Lugy
อาจารย์พิเศษ คอร์สวาดการ์ตูนมังงะ ศูนย์ฝึกอบรมกิจกรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น มุซาชิ
สำหรับการวาดการ์ตูนนั้น "ออกแบบเรื่องดีมีชัยไปกว่าครึ่ง" แม้ว่าอาจจะเขียนภาพไม่เข้าขั้นแต่ การ์ตูนเรื่องนั้นๆก็จะเป็นที่จับตามองทันที เช่น การ์ตูนเกี่ยวกับการทำอาหารไทยย่อมเป็นที่น่าจับตามองมากการออกแบบเรื่องการ์ตูนสำหรับลงนิตยสารในไทย เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังนี้
กลุ่มผู้อ่านของนิตยสารที่การ์ตูนของเราจะลงอยู่ในช่วง อายุเท่าไร เพศอะไร ?
1.1 กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ลงไป
(ตัวอย่างผลงานเหมาะกับกลุ่มนี้ : Pocket Monster)
ถ้าเป็นเด็กผู้ชายพวกเขาชอบการ์ตูนแนวเด็กผู้ชาย หรือที่เรียกว่าแนว"โชเน็น" ประกอบด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับความพยายาม และการต่อสู้พิทักษ์เหล่าร้าย เรื่องราวมิตรภาพ
ตัวเอกของเรื่องจะต้องเป็นคนที่เข้าใจง่ายไม่ควรเป็นคนที่ซีเรียส หรือ เก็บกด ไม่เปิดเผย สามารถร่าเริงได้
ที่สำคัญ การ์ตูนเด็กผู้ชายจะต้องมีการต่อสู้ที่ดุเดือดเร้าใจ แต่ไม่ต้องใช้ภาพโหดร้ายขนาดไส้ทะลัก และต้องมีมุขตลกแทรกตลอดเพื่อลดความเครียดตามท้องเรื่องและทำให้เข้าใจง่าย
ประเด็นที่หยิบมาเล่าเรื่องควรเป็นประเด็นที่เด็กๆสามารถเคยพบเจอมาก่อน เช่น ความอยากเก่ง ความรู้สึกอึดอัดที่มีต่อผู้ใหญ่ ความอยากผจญภัย
และต้องผูกปมเรื่องไม่ซับซ้อนเกินไป ให้อาศัยการ"หัก มุมของเรื่อง" เอาจะดีกว่าการอธิบายหรือพรรณนาด้วยดราม่ายากๆหรือการเล่าแบบนามธรรม เพราะเด็กจะไม่เข้าใจและเบื่อได้
ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จง่ายให้เลือกเขียนเป็นเรื่องจบในตอน และควรทำอารมณ์ในเรื่องให้มีความรู้สึกเกินพอดี เช่นดีใจมาก เสียใจมาก เด็กๆจะรับรู้ความรู้สึกของการ์ตูนได้ง่าย ขึ้น
ถ้าเป็นเด็กผุ้หญิงโดยปกติจะอ่านการ์ตูนน้อยกว่าเด็กผู้ชาย และส่วนมากการ์ตูนที่เด็กผู้หญิงชอบจะมีเด็กผู้ชายและ โอตาคุบางคนชอบด้วย เช่น การ์ตูนแนวสาวน้อยผู้พิทักษ์ความยุติธรรม
โครงเรื่องจะออกแบบมาลักษณะเดียวกับการ์ตูนเด็กที่กล่าวไว้ข้าง ต้น คือ ต้องหยิบประเด็นที่เด็กๆกำลังสัมผัส อยู่มา ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงอาจใช้ประเด็นเรื่อง ความรัก ความน่ารัก การช่วยเหลือคนอื่น มิตรภาพระหว่างเพื่อน
การ์ตูนสำหรับเด็กผู้หญิงจะต้องมีการออกแบบคาแร็กเตอร์ที่น่ารักและถูกใจเด็กผู้หญิงด้วย เพราะเด็กผู้หญิงจะใส่ใจกับความน่ารักเสมอ ดังนั้นถ้าจะออกแบบเรื่องให้ถูกใจเด็กๆทุกคน จะต้องค้นคว้าและสวมจิตวิญญาณสมัยเด็ก ว่าเราเคยสนใจเรื่องอะไรบ้าง
- ชีวิตในห้องเรียน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ความรู้สึกต่ออาจารย์
- ความอยากรู้อยากเห็น การฝันถึงโลกที่น่าสนุก การผจญภัย"ถ้ามีหุ่นยักษ์มารับเราออกไปจากห้องเรียนก็คงดี"
- ความรู้สึกต่อต้านผู้ใหญ่ในสายตาเด็กๆ "ผู้ใหญ่น่ะ หัวแข็งไม่เข้าใจเราเลย ขี้บ่นด้วย แต่บางคนก็ใจดี"
- ความรู้สึกว่าอยากเก่ง อยากเหาะได้ อยากแปลงร่างแล้วเก่งขึ้นหรือมีอภินิหาร ชดเชยความรู้สึกที่ทำหลายๆสิ่งไม่ได้ในโลกจริงเพราะอายุยังน้อย การที่พวกเขาอ่านการ์ตูน พวกเขาจะมีกำลังใจมากขึ้นที่จะพยายามในสิ่งต่างๆ เป็นลักษณะของการ์ตูนฮีโร่
- เด็กๆชอบเรื่องตลกเสมอ ถ้าสามารถเขียนการ์ตูนให้ขำกลิ้งได้จะสามารถวาดแนวโชเน็นได้เปรียบมาก
- ตอนแรกๆให้ทำการ์ตูนเน้นแนวตลกก่อนจะดึงดูดเด็กได้มากส่วนช่วงกลางๆและช่วงหลังๆสามารถใส่เรื่องดราม่าที่เศร้าหรือเครียดได้ แต่ต้องไม่มากเกินไป และควรคั่นสลับตอนกับเรื่องเบาๆ ตลกๆ เพื่อลดความเคีรยด มีเด็กหลายคนที่ไม่สามารถทนอ่านต่อได้เพราะ เครียด หรือเรื่องเศร้าเกินไป ให้ระวังข้อนี้ด้วย
- การ์ตูนแนวนี้ถ้าส่วนผสมเรื่องออกมาดีจะเป็นที่นิยมทุกเพศทุกวัย เพราะอ่านง่าย เข้าใจง่าย ต้องจัดสัดส่วนดราม่าและความเพ้อฝันให้ได้อย่างแนบเนียบ จะเป็นการ์ตูนที่เป็นกุศโลบายที่สอนให้คนเป็นคนดีอย่างสนุกสนาน
- อย่าใช้ข้อมูลในวัยเด็กของเราเพียงคนเดียวให้ใช้มุมมองของหลายๆคน อาจถามเพื่อนว่าวัยเด็กเค้าชอบอะไร เพราะการจะทำการ์ตูนให้เป็นที่ชื่นชอบจะต้องมีความเป็นสากล คือ ใครๆก็สามารถรู้สึกถึงเรื่องนี้ได้ "อืมใช่ ฉันก็รู้สึกอย่างนั้นแหละ" "อ๊ะ ตอนเด็กๆฉันก็คิดแบบนี้เหมือนกัน" "การ์ตูนนี้ทำให้ฝันฉันเป็นจริง"
- ลายเส้นของการ์ตูนมีผลต่อเด็กมาก ตัวละครที่ถูกวาดขึ้นด้วยเส้นง่ายๆจะเป็นที่จดจำได้มากกว่าภาพเหมือนจริงที่มีรายละเอียดเยอะเกินความสามารถรับรู้อันจำกัดของเด็ก
จากทฤษฎีจิตวิทยา Gestalt เกี่ยวกับเรื่องของการรับรู้ ซึ่งแบ่งเป็นการแยกแยะว่าอันไหน คือ ส่วนเด่น "figure" และ อันไหนคือพื้นหลัง "ground"เด็กจะมีความสามารถในการรับรู้ที่จำกัดเนื่องจากประสบการณ์ ส่งผลทำให้เด็กรับรู้ถึงรายละเอียดได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ และจดจำได้เพียงแต่โครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ดังนั้นการ์ตูนโชเน็นจะออกแบบให้ตัวเอกของเรื่องนั้นดูวาดง่ายและไปเน้นความสวยงามที่ฉากหลังแทนเพราะการ รับรู้ถึง "ground" จะส่งผลต่อ "figure"โดยอัติโนมัตินี่จึงเป็นที่มาของการวาดฉากหลังที่สวยเกินตัวละคร ของการ์ตูนบางเรื่อง
- ต้องคำนึงเสมอว่าโลกหมุนไปเรื่อยๆ สังคมในแต่ละวัยเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สมัยก่อนเด็กๆอาจชอบตัวเอกแนวนึง มาวันนี้อาจจะชอบอีกแนวนึงก็ได้ ควรหาข้อมูล จากเด็กในยุคปัจจุบันและเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาอย่างถึงแก่นแท้ จะเข้าใจเพียงผิวเผินไม่ได้เช่น ถ้าวาดการ์ตูนเด็กที่ชอบเกมออนไลน์ ก็ต้องเข้าใจเด็กที่เล่นเกมออนไลน์อย่างแท้จริง จะใช้ความรู้สึกแบบผู้ใหญ่มองไม่ได้
- ควร ใส่ตัวประกอบที่เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้อ่านอื่นๆเข้าไปในท้องเรื่องด้วย เพื่อดึงกลุ่มคนอ่านให้ขยายกว้างตลาดการ์ตูนโชเน็นสามารถขยายสู่ตลาดผู้ใหญ่ ได้ถ้ามีสิ่งที่พวกเขาถูกใจปนอยู่ในเรื่องอย่างลงตัว เช่น การแอบเนียนใส่ตัวละคร "โมเอะ"(สาวน้อยน่ารักสุดขั้ว)เข้าไปในเรื่องการ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชาย แม้ว่าเด็กๆจะไม่ได้เอะใจหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษ แต่กลุ่มผู้อ่านอื่นๆเช่นกลุ่มผู้อ่านที่รักการ์ตูนสาวน้อย จะรู้สึกสนใจการ์ตูนเรื่องๆนั้นมากขึ้น "อ๊ะ การ์ตูนเรื่องนี้เป็นพวกเดียวกับเราเลย" "เราอ่านเรื่องนี้เพราะคนนี้น่ารักเนี่ยแหละ"การ์ตูนเป็นศิลปะเชิงพาญิชย์ ถ้าทำการบ้านเรื่องการตลาดได้ดี ผู้อ่านพอใจ การ์ตูนก็จะประสบความสำเร็จ
- ควรทำการ์ตูนแนวแอ็คชั่น ตลก ผจญภัย มีดราม่าได้เล็กน้อยแต่ไม่ควรเน้น ถ้าเป็นแฟนตาซีจะต้องเน้นการผจญภัยโดยระวังเรื่องการใส่ดราม่ามากเกินไป อย่างถึงที่สุด มีการ์ตูนแฟนตาซีหลายเรื่อง ที่เริ่มเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ดราม่าเกินพอดี ซึ่งมักจะเป็นช่วงกลางเรื่องถ้าเขียนการ์ตูนแฟนตาซีสำหรับเด็กต้องระวังข้อ นี้ให้มากๆ และไม่ควรคิดทำการ์ตูนสอนเด็กดีโดยตรงควรใส่แทรกแบบเนียนๆโดยไม่ให้รู้ตัว
- การแต่งพล็อตให้แหวกแนวในกลุ่มเป้าหมายเด็ก หัวใจสำคัญอยู่ที่ "รูปแบบของกิจกรรมหรือการต่อสู้ในเรื่อง"
การจะทำการ์ตูนให้เป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมต้องค้นหารูปแบบการต่อสู้ในเรื่องที่แหวกแนว เร้าใจ เช่น การ์ตูนการต่อสู้พลังจิตแหวกแนว การ์ตูนเล่นการ์ดที่แหวกแนว การ์ตูนสาวน้อยผู้พิทักษ์ที่มีการต่อสู้ของสาวน้อยที่แหวกแนว
ไม่จำเป็นต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด แต่ต้องมีจุดเด่นที่ทำให้เป็นที่จดจำและเป็นที่ชื่นชอบของเด็ก(ขอเน้นว่า ต้องออกแบบให้เป็นที่ชื่นชอบของเด็กด้วย)
1.2 กลุ่มวัยรุ่นชายหรือหญิงอายุระหว่าง 12 - 18 ปี
(ตัวอย่างการ์ตูนกลุ่มนี้ : Bleach เทพมรณะ)
กลุ่มนี้ก็อ่านการ์ตูนโชเน็นหรือ การ์ตูนเด็กผู้หญิงก็ได้เช่นกันแนวที่พวกเขาชื่นชอบเป็นพิเศษ
แน่นอนมันจะต้องเกี่ยวกับชีวิตวัยรุ่นที่พวกเขาได้ประสบอยู่ทุกๆวัน การเรียนที่ยากเย็นหรือน่าเบื่อ เพื่อนที่เชื่อใจได้ความรัก กีฬา นักเลง
วัยรุ่นจะสนใจ "ความเป็นตนเอง"พวกเขาจะชอบคิดเกี่ยวกับกับตนเองว่ามีความรู้สึกอะไรบ้างต่อเรื่องต่างๆ พวกเขาจะชอบกังวลกับสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกระหว่างตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการ์ตูนวัยรุ่นจะมี เนื้อเรื่องที่ซับซ้อนและขัดแย้งกันระหว่างความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อน พ่อแม่ และอาจารย์
พวกเขาจะวาดฝันถึงความทรงจำที่แสนสนุกเพราะยังติดกับความเป็นเด็ก แต่กระนั้นพวกเขาก็รับรู้ถึงโลกแห่งความเป็นจริงมากกว่าเดิม ทำให้พวกเค้ามักมองโลกในมุมกลับ ต่อต้าน
"ฉันน่าจะทำแบบนี้ได้ แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้"
"ฉันอยากจะทำให้ได้ แต่ก็มีอุปสรรคทำร้ายจิตใจเสมอ ถึงอย่างไรฉันจะพยายามต่อไป"
การ์ตูนวัยรุ่นสำหรับผู้ชายอาจจะกล่าวถึงเรื่องกีฬา นักเลง พวกเขาอาจมีความสนใจในการ์ตูนหุ่นยนต์ซึ่ง เป็น symbolic(สัญลักษณ์) ถึงพลังอำนาจที่พวกเขาต้องการจะไขว่คว้า หรือการ์ตูนสาวน้อยซึ่งเป็น symbolic ทางเพศที่พวกเขาสนใจแต่ยังขาดประสบการณ์ในชีวิตจริง
กลุ่มผู้อ่านวัยรุ่นจะสนใจ "ความรู้สึก" เช่น ความรู้สึกสะใจบ้าคลั่ง โรแมนติก ความรู้สึกที่ประสบในโศกนาฎกรรมชะตากรรมอะไรสักอย่าง การ์ตูนวัยรุ่นจะถ่ายทอดดราม่าในลักษณะที่ซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมได้มากกว่าการ์ตูนสำหรับเด็ก อาจมีการหยิบยกปรัชญาที่เข้าใจได้ไม่ยากเกินไปมาเล่าเรื่อง เช่น การทำวันนี้ให้ดีที่สุด ความกตัญญูเป็นลักษณะของคนดี โลกนี้ไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายๆ ปรัชญาที่นำมาเล่าจะต้องอยู่ในความสนใจของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน
ตัวเอกของเรื่องควรเป็นวัยรุ่น เพราะผู้อ่านเป็นวัยรุ่นที่พยายามจะตอบคำถามกับความรู้สึกตนเองเสมอ เช่น"ถ้าเราเจอสถานการณ์แบบนี้บ้างเรารู้สึกอย่างไร ทำอย่างไร"
วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบเลียนแบบ ชอบหาเอกลักษณ์ สนใจความรุนแรง และ เพศตรงข้าม แฟชั่นของตัวละครในเรื่องจะต้องถูกออกแบบมาให้ถูกใจพวกเขา ถ้าทำให้กลุ่มผู้อ่านวัยรุ่นบอกได้ว่า "เท่ห์สุดๆ" หรือ "น่ารักโคตรๆ"การ์ตูนนั้นจะเป็นที่น่าสนใจทันที และอาจถูกนำไปคอสเพลย์(แต่งตัวตามตัวละคร)
ดังนั้นการวาดการ์ตูนเพื่อตอบสนองกลุ่มวัยรุ่นควรจะต้องมีความรู้เรื่องแฟชั่นพอตัวเลยทีเดียว ถ้าไม่มีความสามารถทางแฟชั่นมากพอก็สามารถใช้วิธีการหาข้อมูลที่มีอยู่จริงก็ได้
- การ์ตูนวัยรุ่นจะหยิบประเด็นที่ใกล้เคียงกับการ์ตูนเด็กเพราะยังเป็นวัย เรียนมีความฝันมากมาย เราจะเห็นว่าเด็กวัยรุ่นก็อ่านการ์ตูนโชเน็นหรือการ์ตูนเด็กผู้หญิงเช่นกัน
- เหมือนการ์ตูนเด็ก ถ้าเขียนตลกได้ จะได้เปรียบมากทำให้อ่านง่าย
- เป็นช่วงกลุ่มอายุที่มักตื่นเต้นกับของที่น่าตื่นตาตื่นใจ(อลังการ) หรือ งดงาม ถ้าลายเส้นสวยจะดึงดูดมากเช่น กัน เป็นช่วงอายุที่เด็กหลายคนอาจซื้อเพียงเพราะวาดสวยเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อเรื่องที่ถูกออกแบบให้ถูกใจจะทำให้การ์ตูนนั้นขยายวง กว้างได้มากกว่า เพราะมีหลายคนโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ที่ชอบอ่านการ์ตูนที่เขียนได้มันส์สะใจ โดยไม่ใส่ใจกับเรื่องลายเส้นเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นเนื้อเรื่องดีย่อมมาก่อน
- สามารถเขียนมุมมองผู้ใหญ่ให้ค้านกับมุมมองของตัวเอกที่เป็นวัยรุ่นได้ เนื้อเรื่องจะกลายเป็นความขัดแย้งสะท้อนปัญหาในใจของวัยรุ่นได้ดี
- การแต่งพล็อตให้แหวกแนวในกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น หัวใจสำคัญอยู่ที่ "ความแหวกแนวของคาแร็กเตอร์"
การ์ตูนวัยรุ่นจะต้องถ่ายทอด"ความ รู้สึก"อย่างมาก ตัวที่แหวกแนวไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเอกแต่อย่างน้อยควรเป็นตัวละครควรที่มีความสำคัญกับเรื่องนั้นๆ "ฉันชอบคนแบบนี้จัง เท่ห์ดี แปลกดี"สำหรับการ์ตูนวัยรุ่นนั้นอาจเรียกได้ว่า ออก แบบตัวละครเก่งมีชัยไปกว่าครึ่งเลยก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องอยู่พื้นฐานของเนื้อเรื่องที่วัยรุ่นสนใจ
- ถ้าใช้เนื้อเรื่องสูตรสำเร็จ วัยรุ่นอาจมีแนวโน้มที่จะต่อต้านได้มากกว่าการ์ตูนเด็ก จำไว้ว่าการออกแบบการ์ตูนวัย รุ่นก็เหมือนกับการปั้นดาราเลยทีเดียว ถ้า ออกมาซ้ำๆคล้ายๆกันเป็นสูตรสำเร็จก็จะเบื่อหน่ายต้องออกแบบ ให้นำแฟชั่นเนื้อเรื่องในตอน นั้นโดยการผสานกันระหว่างสิ่งยอดนิยมที่มีอยู่เดิมและสิ่งแปลกใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การนำเรื่องสาว ชุดเมดมารวมกับการต่อสู้ชิงความเป็นหนึ่งในร้านอาหารอีสาน
- ข้อควรระวัง ความแหวกแนวที่นำมาใช้ควรจะต้อง" Cool !! " คือ เจ๋ง โดน ใช่เลย
1.3 กลุ่มผู้ใหญ่ชายหรือหญิงอายุ 18 +
(ตัวอย่าง การ์ตูนเหมาะกับกลุ่มนี้ : Galaxy Express 999 )
การ์ตูนผู้ใหญ่เป็นการ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องที่อ้างอิงมาจากความเป็นจริงของโลกนี้ ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงสงคราม การเมือง ปัญหาสังคม และเรื่องเพศ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ประสบอยู่กับตัวอยู่เสมอในโลกแห่งความเป็นจริง
พวกเค้าจะต้องการ "ดราม่า" หรือ ต้องการหาคำตอบของการมีชีวิตอยู่ กลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่จะชื่นชอบการ์ตูนที่มีความสมจริงทางดราม่าอย่างมากรวมทั้งชื่นชอบการ์ตุนที่ให้ข้อมูลเรื่องที่พวกเค้าสนใจได้อย่างสมจริง เช่น การ์ตูนสงครามเวียดนาม พวกเขาจะชอบมากถ้าการ์ตูนนั้นถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด และเนื้อหาสงครามได้อย่างสมจริงสมจัง
ผู้เขียนการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่จะต้องทำการบ้านเรื่องข้อมูลอย่างมาก ซึ่งถ้าผู้เขียนเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ตนเองมีความถนัดและเชี่ยวชาญก็ จะสามารถเขียนออกมาได้ดีเช่น ผู้เขียนที่จบคณะแพทย์และเป็นหมอก็จะสามารถเขียนการ์ตูนเกี่ยวกับหมอได้ลึก ซึ้งกว่าคนที่ไม่เคยมี ประสบการณ์เลย
กลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่จะต้องการการ์ตูนที่มีสาระเสมอ อย่างน้อยก็สาระทางปรัชญาของการมีชีวิตอยู่ พวกเขาจะถามตัวเองก่อนจะเลือกซื้อการ์ตูนเสมอว่า "อ่านแล้วได้อะไร" อาจจะเป็นเรื่องข้อคิดของการดำรงชีวิต ตลอดจนความรู้เฉพาะทาง เช่น คนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นดนตรีตามความเป็นจริงก็จะเลือกซื้อการ์ตูนดนตรี ที่มีความสมจริง
การ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่อาจจะมีเรื่องเพ้อฝันบ้าง แต่เรื่องเพ้อฝันเหล่าน้นจะ ถูกวางอยู่บนรากฐานของปรัชญาที่อ้างอิงจากชีวิตจริง มีการเสียดสีสังคมจริงผ่านทาง symbolic ต่างๆ เช่น การ์ตูนเกี่ยวกับการผจญภัยด้วยรถไฟไปยังดาวต่างๆในจักรวาล รถไฟจะเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับเส้นทางของชีวิตที่เรา ได้เดินทางไปพบเรื่องราวต่างๆ
การแทนสัญลักษณ์เหล่านี้จะต้องใช้ความชำนาญและความแม่นยำอย่างมาก ต้องระวังว่าจะใช้สัญลักษณ์ที่ขัดกับความหมายที่จะสื่อ หรือสัญลักษณ์นั้นอาจจะแสดงความหมายที่ตรงเกินไปจนดูจับทางได้ ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่ขัดกันได้แก่การตั้งใจจะใช้สัญลักษณ์แทนความอิสระแต่กลับใช้สัญลักษณ์ รองเท้า(ผูกพัน) ส่วนตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่ตรงเกินไปได้แก่ ตั้งใจว่าจะใช้สัญลักษณ์แทนความเป็นไทยก็ใช้ลายไทย
หากคิดจะประสบความสำเร็จในการวาดการ์ตูนในกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่นี้จะ มีสิ่งที่ต้องคำนึงมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นการ์ตูนที่จะต้องออกแบบเรื่องให้ได้รับการยอมรับเทียบเท่า ภาพยนตร์เลยทีเดียว
- สิ่งที่ต้องคำนึง กลุ่มผู้ใหญ่ในสังคมไทยหลากหลายมาก โดยเฉพาะ กลุ่มที่อายุ 30 ขึ้นไปจะอ่านการ์ตูนน้อยกว่ากลุ่มเป้าหมายอื่นมาก อาจบอก ได้ว่าในสภาพปัจจุบันนี้หากต้องการเขียนการ์ตูนเรื่องให้กลุ่มผู้ใหญ่โดย เฉพาะ จะเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว เว้นแต่จะทำการ์ตูนที่เด็กอ่านได้ผู้ใหญ่อ่านได้ แต่นั่นก็จะเป็นการดึงกลุ่มตลาดเด็กมาช่วย ซึ่งเห็นว่าถ้าเช่นนั้นก็ควรจะเลือกทำตลาดเด็กและวัยรุ่นไปเลยจะดีกว่า
กลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่อายุ 30 ขึ้นไปมักจะชอบการ์ตูนตลกที่เป็นแก๊กสั้นๆอย่างที่เราเห็นได้ในหนังสือพิมพ์ หรือ ขายหัวเราะ มากกว่าการ์ตูนไสตล์ "มังกะ" นอกจากนี้พวกเขายังมักมองภาพการ์ตูนญี่ปุ่นในแง่ลบอีกด้วย
การทำการ์ตูนผู้ใหญ่โดยเฉพาะจึงยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนัก แต่อาจจะจับตลาดอายุ 18 - 30 ปีได้บ้าง ซึ่งพวกเขาจะเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นที่ชอบทั้งการ์ตูนวัยรุ่นและการ์ตูนผู้ใหญ่ เลยทีเดียว
- กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 18 - 30 ปี พวกเขาจะยังสนใจหลายๆเรื่องที่เด็กวัยรุ่นสนใจ แต่ก็สนใจ "ปรัชญา"ชีวิต และ "ความรู้" เพิ่มเติมมากขึ้น บางครั้งผู้เขียนการ์ตูนวัยรุ่นและเด็กที่เป็นผู้เขียนที่ฉลาด จะแอบแฝงปรัชญาและสัญลักษณ์ทางปรัชญาไว้ตามท้องเรื่องที่สามารถเทียบเคียง ได้กับชีวิตจริงอยู่แล้ว ทำให้การ์ตูนนั้นๆมีความเป็น"สากล" คือ ทุกเพศทุกวัยสามารถสนุกได้และสามารถมองต่างมุมกัน การ์ตูนเรื่องเดียวกันเด็กมองตัวเอกอย่างหนึ่ง วัยรุ่นมองอีกอย่างหนึ่ง ผู้ใหญ่ก็จะมองอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
การ์ตูนในลักษณะนี้จะต้องมีการวางแผนและใช้ข้อมูลอย่างรอบคอบ โดยไม่ลืมที่จะใส่ความเบาสมองลงไป จัดเป็นการ์ตูนที่อาศัยศาสตร์และศิลป์อย่างมีความชำนาญ โดยมากถ้าการ์ตูนประสบความสำเร็จก็อาจกลายเป็นการ์ตูนคลาสสิคอมตะได้เลยทีเดียว
(ตัวอย่าง การ์ตูนคลาสสิคอมตะ : HINOTORI)
- กลุ่มผู้ใหญ่จะลดความสนใจเกี่ยวกับภาพลงซึ่งอาจจะขอเพียงอ่านรู้เรื่อง เข้าใจง่าย ก็เป็นได้ หรือจะเป็นการ์ตูนที่วาดอย่างสมจริงสวยงามก็ไม่เกี่ยงเช่นกัน พวกเขาสนใจว่า "เค้าจะได้อะไร" จากการ์ตูนเรื่องนั้นมากกว่า อย่างไรก็ตามเราก็ควรทำงานภาพให้มีคุณภาพตามไสตล์เรา
- การ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องโป๊แต่ถ้าโป๊ก็ควรโป๊อย่างมีศิลปะ และงดงาม ผู้เขียนที่ขาดประสบการณ์ เรื่องเพศแต่ต้องการเขียนการฺ์ตูนกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่จะทำได้ไม่ดีเท่าที่ ควร เพราะความคิดในมุมมองของคน ที่ขาดประสบการณ์กับคนที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วนั้นค่อนข้างต่างกันเลยที เดียว หากเขียนเรื่องเพศด้วยความรู้เท่าไม่ ถึงการณ์จะทำให้สื่อออกมาขาดความสมจริง
- การเขียนเล่าประวัติชีวิตของวงการใดวงการหนึ่งซึ่งอ้างอิงจากความเป็นจริง เป็นการออกแบบเรื่องสำหรับกลุ่มผู้อ่านผู้ใหญ่เป็นทางเลือกที่ดีมาก เช่น ชีวิตของนักกีฬาวอลเลย์บอล
- การเขียนการ์ตูนสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ในประเทศไทยจะประสบความสำเร็จได้ เป็นอย่างดีหากมีการแทรก วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ไทยอย่างสมจริง และออกแบบได้ลงตัว การเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมควรออกหาข้อมูล อย่างจริงจัง ไม่ควรนึกเอาเอง เพราะอาจถูกกลุ่มผู้อ่านต่อต้านหากเราให้ข้อมูล ที่ผิดจากความจริงนั้นๆ เช่น หากเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าลีซอก็ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับเผ่าลีซออย่างละเอียดถี่ ถ้วนมิให้เกิดความผิดพลาดมิเช่นนั้นอาจถูกกลุ่มผู้อ่านจากเผ่าลีซอเรียกร้องให้หยุดตีพิมพ์เนื่องจาก ให้ข้อมูลที่มีผลเสียหายต่อภาพลักษณ์วัฒนธรรมของเขา
การเขียนการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่จะต้อง ระวังเรื่องนี้ให้ดีหากไม่มั่นใจในข้อมูล ควรเลี่ยงการเขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้น หรือนำไปดัดแปลงให้เป็นแฟนตาซี อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการ์ตูนผู้ใหญ่จะเน้นข้อคิดและปรัชญา
- นอกจากนี้ปรัชญาที่ใช้ควรมีความ ซับซ้อนมากขึ้นกว่าการ์ตูนสำหรับวัยรุ่นและเด็ก ตัวอย่างเช่น การ์ตูนเด็กอาจ ใช้ปรัชญา "ทำดีย่อมได้ดี" การ์ตูนวัยรุ่นอาจใช้ปรัชญา "ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น" และ การ์ตูนผู้ใหญ่อาจใช้ปรัชญา"พระเจ้าคือผู้สร้างและทำลายซึ่งพระเจ้าก็คือ มนุษย์นั่นเอง"
- การแต่งพล็อตให้แหวกแนวในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใหญ่หัวใจสำคัญอยู่ที่ "ข้อคิด ปรัชญา และความรู้"
ผู้ใหญ่มีการรับรู้ที่มากกว่าเด็กเนื่องจากประสบการณ์ชีวิต พวกเขาจึงต้อง การสิ่งที่เยียวยาหัวใจจากการความเหนื่อยล้าในต่อสู้และมี ชีวิตอยู่ในสังคม ซึ่งข้อคิด ปรัชญา ความรู้ที่ได้จากการ์ตูนนั้นจะต้องมีความสมจริงสามารถนำไปใช้หรือเทียบเคียงกับความเป็นจริงได้ พวกเขาต้องการการ์ตูนที่มี symbolic แทนชีวิตจริงในเนื้อเรื่อง เช่น อัศวินที่ยอมขายทุกสิ่งให้กับปิศาจเพื่อความฝันของตนเองโดยคิดว่าเพื่อนๆจะ ยอมมอบชีวิตให้เพราะเห็นว่า ความฝันของอัศวินคนนั้นสำคัญที่สุด อาจเทียบได้กับความทะเยอทะยานที่แสนเศร้าของระบบการเมืองในปัจจุบัน
การแหวกแนวด้วยข้อคิด ปรัชญา และความรู้ ก็คือการจับประเด็นทางสังคมที่อาจถูกลืม หรือยังไม่มีใครเคยเล่ามาใช้ เช่น อาจเขียนการ์ตูนเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางภัยพิบัติธรรมชาติในประเทศไทย
จะเห็นว่าความต้องการของกลุ่มผู้อ่านทั้ง 3 วัย เด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ จะมีความแตกต่างกัน ผู้เขียนการ์ตูนที่มีความชำนาญอาจสามารถทำให้การ์ตูนของตนเป็นที่ชื่นชอบของ ทั้ง 3 วัยซึ่งจะทำให้มีฐานผู้อ่านที่กว้างขวางมาก
การออกแบบเรื่องจะต้องคำนึงว่านิตยสารของการ์ตูนที่เราลงนั้นมีกลุ่มเป้าหมายใด ซึ่งหากตัวนิตยสารนั้นขาดความชัดเจนแล้ว ให้เลือกเขียนการ์ตูนสำหรับเด็กหรือวัยรุ่นที่ไม่ต้องเน้นดราม่ามากเกินไป จะลดความเสี่ยงที่ผู้อ่านจะเบื่อได้มากที่สุด หากผู้เขียนมีความมั่นใจในแนวการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ ควรออกรวมเล่มเดี่ยวจะดีกว่าลงนิตยสารการ์ตูน เนื่องจากกลุ่มผู้อ่านนิตยสารการ์ตูนมักจะเป็นเด็กกับวัยรุ่นที่เปี่ยมไปด้วยความฝันมากกว่า
ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนดูแลโปรเจ็คของการ์ตูน จะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดตามอายุอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ไม่ควรทึกทักเอาเอง ควรสำรวจกระแสนิยมของวัยนั้นๆอย่างจริงจังและวางแผนเรื่องให้อยู่ภายใต้กรอบ ของอายุผู้อ่านนั้น ให้ดูแลและตักเตือนผู้เขียนการ์ตูนเมื่อผู้เขียนลืมตัวเรื่องคอนเซปต์เรื่อง และพยายามจะใส่ดราม่ามากเกินพอดี คือ เขียนแบบอารมณ์พาไปแล้วกู่ไม่กลับนั่นเอง
--------------------------
บทความ พล็อตเรื่องตามกลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้อ่านของเราอยู่ในช่วงอายุเท่าไร เพศอะไร
ผู้เขียน Lugy
อาจารย์พิเศษ คอร์สวาดการ์ตูนมังงะ ศูนย์ฝึกอบรมกิจกรรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น มุซาชิ
Thu Jun 19, 2014 10:27 pm by Iamletandgo1
» ฮือฮา!! หญิงปริศนา ย้อนเวลา เดินคุยโทรศัพท์มือถือ
Thu Jun 19, 2014 10:22 pm by Iamletandgo1
» คุณว่า One piece จะจบเเบบไหน
Thu Jun 19, 2014 10:18 pm by Iamletandgo1
» ประวัติของนายอาเบะ และตำนานยาราไนก้า
Thu Jun 19, 2014 10:17 pm by Iamletandgo1
» 10 อันดับหนังสือการ์ตูนที่ขายดีที่สุด 2010 (ไตรมาสแรกของปี)
Thu Jun 19, 2014 10:03 pm by Iamletandgo1
» ประวัติคาวมเป็นมาของผีญี่ปุ่น คุณชอบตัวไหนกันน้า?
Thu Jun 19, 2014 10:02 pm by Iamletandgo1
» นี้สินะ วิวัฒนาการของการแอบดู -0-
Thu Jun 19, 2014 10:00 pm by Iamletandgo1
» หนทางใหม่ในการติดต่อกับ anime-activate : Skype
Thu Jun 19, 2014 9:58 pm by Iamletandgo1
» หนทางใหม่ในการติดต่อกับ anime-activate
Thu Jun 19, 2014 9:53 pm by Iamletandgo1